ชนิดของปลาโลมาในประเทศไทย

1.ปลาโลมาปากขวด

ปลาโลมาปากขวด  ได้มีการบันทึกว่าเป็นปลาโลมาที่มีขนาดกลาง  ร่างกายกำยำ  มีครีบโค้งปานกลาง มีสีดำ  ตัวโตเต็มวัยมีความยาว 2- 3.8 เมตร  น้ำหนัก  220 – 500 กิโลกรัม (เฉลี่ย  242 กิโลกรัม)  มีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะทางภูมิศาสตร์   ขนาดของร่างกายดูจะมีความแปรผันเปลี่ยนแปลงอย่างตรงกันข้ามกับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละส่วนของโลก   มีสีเทาสว่างถึงสีดำในส่วนหน้าและมีสีสว่างในช่วงท้อง
                                 ปลาโลมาปากขวดมีขนาดที่แตกต่างกันตามที่อยู่อาศัย พบได้บริเวณใกล้ชายฝั่งในเขตร้อน  มีแหล่งที่อยู่ที่กว้างขวางทั่วไป  พบได้ตามชายฝั่งจากปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ อ่าวน้ำตื้น  บางครั้งพวกมันอาจจะท่องเที่ยวไปไกลตามแม่น้ำ  เขตนอกชายฝั่งมักไม่ค่อยพบหรือบางเขตนอกชายฝั่งอาจพบได้แถวเกาะ

2.ปลาโลมาริซโซส 

ปลาโลมาริซโซส์   มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่    5   ของตระกูล  ซึ่งตัวเต็มวัยมีขนาด  ประมาณ  4  เมตร  ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  ร่างกายส่วนหน้ามีความแข็งแรงอย่างมาก  ครีบส่วนหน้าเป็นครีบที่มีความยาวที่สุดในทุกส่วนของร่างกายส่วนหัวมีรูปร่างแบบกระเปาะ  และมีรอยย่นในแนวตรงยาวในพื้นที่ส่วนหน้า  สีเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น  ช่วงอายุไม่มากมีสีเทาถึงน้ำตาล  หลังจากนั้นจะมีสีดำ  และเริ่มมีสีสว่างขึ้นขณะที่เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย  ปลาโลมาริซโซส์อาศัยอยู่ในมหาสมุทรลึก และที่ลาดเอียงอย่างต่อเนื่องที่ระดับความลึก  400 – 1000 เมตร และพบบ่อยที่ปากแม่น้ำ  บางครั้งอาจพบอยู่บนผิว

3. ปลาโลมาอิรวดี

ปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะคล้ายกับ  ปลาวาฬ Delphinapterus  leucas  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาวาฬนักล่า  Orcinus  orca  หัวของปลาโลมาอิรวดี  มีลักษณะกว้าง  ไม่มีรอยหยัก  ครีบหน้าเล็ก  ครีบบนหลังเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งมน  ขนาดไม่ใหญ่นัก  มีสีเทาดำ  ถึงสีเทาสว่าง  ลำตัวมีความยาวประมาณ  275 เซนติเมตร  แต่เฉลี่ยแล้วมีความยาว  210 เซนติเมตร  มีน้ำหนักประมาณ 115 – 130 กิโลกร
ปลาโลมาอิรวดีพบได้ตามชายฝั่ง  น้ำตื้น  น้ำเค็ม  และบริเวณปากแม่น้ำ ชอบอยู่ตามแนวชายฝั่งมากว่า  บริเวณปากแม่น้ำ  น้ำเค็ม  ไม่สามารถพบปลาโลมาอิรวดี  ในบริเวณไม่ปลอดภัยนอกชายฝั่ง  ซึ่งพบได้ระยะที่ไม่ไกลจากชายฝั่งนัก 

4.ปลาโลมาหลังโหนก

ปลาโลมาหลังโหนก  มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาโลมาปากขวดทั่วไป  ยิ่งมีอายุมากเท่าไรสีจะจางลงเรี่อย ๆ โคนครีบหลังเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง   บางครั้งอาจพบว่าฐานครีบมีความกว้างถึงหนึ่งในสามของความยาวลำตัวทีเดียว   ในทะเลเราสามารถสังเกตปลาโลมาชนิดนี้ได้จากลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีท้องขาวบนหลังครีบเป็นโหนกแต่สิ่งที่ยากก็คือการจะเข้าไปใกล้ ๆ มัน 
           ปลาโลมาหลังโหนกมีขนาดปกติปลาโลมาตัวเต็มวัยจะมีความยาว 2 ถึง 2.8 เมตรหนัก 150 ถึง 200 กิโลกรัม ลูกโลมาเกิดใหม่ยาวประมาณ 1 เมตร หนัก 25 กิโลกรัม กินปลาเป็นหลัก การว่ายน้ำของโลมานี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่ชอบเล่นคลื่น   บริเวณหัวเรือขณะเรือแล่น แต่ชอบเล่นในอากาศ เช่น ตีน้ำด้วยหาง 
หรือโผล่หัวผลุบ ๆ โผล่ ๆ ชอบตะแคงแล้วใช้ครีบว่ายน้ำ แม้จะเป็นโลมา ที่ระแวดระวังเรือ แต่ก็สามารถเข้าฝูงกับชนิดอื่นได้ดี โดยเฉพาะพวกโลมาปากขวด โลมาหลังโหนกแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ดูเหมือนมันชอบที่จะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อน ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก 
ซึ่งมีความลึกไม่มาหนักคือลึกไม่เกิน 20 เมตร


              

หน้าหลัก ลักษณะทั่วไป บรรณานุกรม

 

 

 

Free Web Hosting